วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อาหารแนวใหม่สไตล์ฟิวชั่น Fusion Food

อาหารสไตล์ฟิวชั่น คือ อะไร? หลายคนคงตั้งข้อสังเกตและมีคำถามอยู่ในใจเกี่ยวกับ
อาหารสไตล์ฟิวชั่นว่า คืออะไรและมีจุดกำเนิดหรือความเป็นมาเป็นอย่างไร
 ‘ฟิวชัน’ (Fusion) มาจากรากศัพท์ของคำกิริยาว่า ‘ฟิวส์’ ( Fuse) หมายถึงการรวมเข้าไว้ด้วยกัน ในทางดนตรี ฟิวชัน จึงหมายถึงการรวมของแนวดนตรี 2 แนวขึ้นไป และยิ่งไปกว่าการฟิวชันทางดนตรีมา พ.ศ.นี้ยังเกิดการฟิวชันในทางอาหารขึ้นซึ่งแน่นอนว่าน่าจะสร้างความสับสนได้ไม่รู้จบ   
‘อาหารฟิวชัน’ (Fusion Food) เป็น การปะทะกันทางอารยธรรมของอาหารนานาชาติ โดยใช้ความสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อเรียงร้อยวัฒนธรรมความอร่อยจากต่างที่ ต่างถิ่นให้เชื่อมเข้าหากัน ในความหมายคือ การนำวัตถุดิบที่แตกต่างไม่ว่าจะด้านรสชาติ ถิ่นกำเนิด หรือประเภทอาหารคาว-หวาน มาผสานคลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างดิบดี มีทั้งอาหารตะวันตกที่นำมาปรุงกับเครื่องเทศหรือวัตถุดิบจากโลกตะวันออก เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และการนำอาหารตะวันออกรสจัดจ้านมาผสมผสานกันอาหารนานาชาติ โดยมี ชีส อะริกาโน่ โรสแมรี่ หรือซอสครีมขาวเป็นสื่อกลาง  ซึ่งถือเป็นการสะท้อนถึงรสชาติของอาหารตามแบบคนเอเชีย รวมทั้งความงามของสีสันอาหาร ในขณะเดียวกันก็ได้แสดงทักษะการประดิษฐ์ตกแต่งอาหารอย่างสวยงามแบบเลิศๆ ให้เหมาะสมกับลูกค้าที่แตกต่างกัน และหลากหลายในด้านวัฒนธรรมการทานอาหาร พร้อมทั้งการปรุงอาหาร 
 
ร้านอาหารแนว ฟิวชันฟูดเป็นเทรนด์ซึ่งเกิดขึ้นในอเมริกา ยุโรป และแพร่หลายเข้ามาในเอเชียด้วยระยะเวลาอันรวดเร็ว ถือเป็นร้านอาหารที่ไม่ใช่แค่การมานั่งรับประทานอาหาร แต่เป็นที่พบปะสังสรรค์ รีแลกซ์ โดยจะใช้รูปแบบของการดีไซน์และบรรยากาศในร้านมาเป็นตัวดึงดูด ถือเป็นแนวคิดใหม่ในการทำร้านอาหารที่ต้องการสร้างแรงดึงดูดจากอาหารที่เกิด จากความแตกต่างด้านวัฒนธรรม การมารับประทานอาการที่ร้านอาหารแนวนี้ไม่ได้เพียงมาชิมรสชาติของอาหารเท่า นั้น แต่อาจเรียกได้ว่าเป็นมาชิลกับบรรยากาศป็อปๆ ตามประสาพวกที่เรียกตัวเองว่าคนมีรสนิยม    การเกิดขึ้นของร้านในรูปแบบนี้ มาจากพฤติกรรมของคนทำงานทั่วโลก โดยเฉพาะผู้หญิงที่เวลาทำงานจะทำอย่างหนักเพื่อหาเงินและเมื่อถึงเวลาผ่อน คลายหรือพักผ่อนก็จะพักผ่อนแบบเต็มที่ เป็นการเน้นเรื่องไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่จะดีไซน์ร้านให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ ของคนในพื้นที่เป็นหลัก    


อาหารยุคโมเดิร์น      

การพัฒนาของอาหารในแต่ละยุคสมัยนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกันโดยเริ่มต้นจากอาหารที่เป็น Authentic (ดั้ง เดิม) หมายถึง อาหารที่มีมาแต่ดั้งเดิมเป็นต้นตำรับมาตรฐาน ซึ่งเวลาทำอาหารแล้วมีการเผยแพร่ไปเนื่องจากโลกเรามันก็แคบลง อาหารหลายชนิดก็ถูกนำไปบริโภคในต่างประเทศ ในส่วนของที่ระบุไว้ว่าจะต้องใช้ วัตถุดิบแต่ละชนิดตามรสชาติแบบที่เป็นแบบฉบับบางทีก็มีข้อจำกัดอย่างเช่น ไม่มี ราคาสูง นำเข้าไม่ได้ จึงต้องเกิดจากการปรับปรุงสูตรขึ้น    

มาถึงด่านที่ 2 เรื่องของการ Customized (ปรับปรุง) เกิดขั้นจากที่วัตถุดิบไม่มีขาย ก็จำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้มาใช้แทนตำรับเดิมให้ได้    
สุดท้ายก็คือ Fusion (รวม เข้าด้วยกัน) ในทางอาหารอาจเรียกได้ว่าเป็นการผสมผสาน อาจไม่ใช่เรื่องของการปรับปรุง แต่เป็นการนำเอาอาหารมาประยุกต์รวมกันให้เกิดอาหารชนิดใหม่ขึ้นมา โดยเกิดจากจินตนาการ หรือความคิดจากเชฟผู้ปรุงรส
ปัจจุบัน เราไม่สามารถปฏิเสธความเป็นอาหารฟิวชันได้ เพราะการผสมผสานจำเป็นต้องเกิดขึ้น อาหารหลายๆ อย่างต้องมีเทคนิคที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเราติดต่อสื่อสารกันอย่างไร้พรมแดน การรับวัฒนธรรมจากซีกโลกหนึ่งมาสู่อีกซีกโลกหนึ่ง จึงไม่ใช่สิ่งที่ยากอีกต่อไปด้วยสื่อต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต  ภาพยนตร์  ทีวี ฯลฯ หรือแม้กระทั่งการเข้ามาเผยแพร่วัฒนธรรมของชนชาติตะวันตก  อาทิ  อเมริกา  อังกฤษ  ฝรั่งเศส ทำให้อาหารแต่ละชาติได้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมในการปรุงแต่งอาหาร     และต่อมาได้มีการประยุกต์ดัดแปลงผสมผสานอาหารของชาติต่างๆ   เกิดเป็นอาหารจานใหม่ขึ้น   
        
ผลผลิตจากการฟิวชัน   

ผลผลิตจากการฟิวชันทางอาหารทำให้เกิดเมนูซึ่งมีชื่อแปลกหู รูปลักษณ์แปลกตา อาทิ แกะย่างกระเทียมจิ้มแจ่ว,สปาเก็ตตี้ปลาอินทรีเค็ม, พิซซ่าหน้าเขียวหวาน, แฮมเบอร์เกอร์ลาบไก่, ข้าวปั้นปลาทู, แซนด์วิชหมูย่าง, หอยแมลงภู่นิวซีแลนด์จี๊ดจ๊าด, โรตีไส้พะแนงหมู, ปลาแซลมอนผัดพริกขิง, ก๋วยเตี๋ยวต้มโคล้ง, เกี๊ยวปูครีมชีส, ยำแอ้ปเปิ้ลเขียว,              ไอศครีมทอด ฯลฯ ถูกปากแบบอินเทรนด์